งานวิจัย/CQI

ผลงานเรื่อง      การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย stroke
คำสำคัญ         การพัฒนา ระบบการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย stroke      
สรุปผลงานโดยย่อ
        จากการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย stroke ทำให้เกิดฐานข้อมูลผู้ป่วยที่มีความครอบคลุม จากความชัดเจนของระบบการส่งต่อข้อมูล มีการดูแลติดตาม โดยเชื่อมโยงเครือข่าย ผ่านระบบ social network ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟื้นฟูสภาพครบถ้วน มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ชื่อและที่อยู่ขององค์กร แผนกกายภาพบำบัด กลุ่มงานเทคนิคบริการ โรงพยาบาลกระสัง
สมาชิกทีม
๑.      นายศรลักษณ์ ศิลปะ           นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ
๒.      นส. จุฑาวรรณ ภาพยนตร์     นักกายภาพบำบัด
๓.      นส. กาญจนา ทุมมากุล        นักกายภาพบำบัด
๔.      นส. ทิชากร บรรจถรณ์        นักกายภาพบำบัด
เป้าหมาย
เพื่อให้ผู้ป่วย stroke ในเขตพื้นที่ได้รับการส่งปรึกษาเพื่อดูแลฟื้นฟูสภาพครบถ้วน ๑๐๐ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกิดฐานข้อมูลการดูแลที่ชัดเจนครอบคลุมในแต่ละปี
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
ผู้ป่วย Stroke มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี โดยในปี ๒๕๕๔ และปี ๒๕๕๕ มีผู้ป่วย stroke รวม ๑๐๔ รายและ ๑๐๙ ราย แต่ได้รับการฟื้นฟูสภาพทางกายภาพบำบัดจริงเพียงแค่ ๑๒๕ ราย คิดเป็น ๕๘.๖๙ จากระบบการส่งปรึกษา เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับไม่ครบถ้วน และระบบการส่งปรึกษายังไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วย stroke หลายรายขาดโอกาสสำคัญในการได้รับบริการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมตามอาการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นภาระต่อครอบครัวและผู้ดูแล สุขภาพจิตย่ำแย่ และในปี ๒๕๕๖ มีผู้ป่วย stroke จำนวน ๑๑๖ ราย ที่เข้าสู่ระบบบริการในด่านแรกคือ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินก่อนส่งต่อในระบบ stroke fast track โรงพยาบาลศูนย์ งานเวชกรรมฟื้นฟูและส่งกลับสู่โรงพยาบาลชุมชนเพื่อติดตามต่อเนื่องใกล้บ้าน  ด้วยขั้นตอนดังกล่าว จึงเป็นประเด็นให้ทีมกายภาพบำบัด ดักจับข้อมูลในแต่ละขั้นตอนเพื่อการพัฒนาระบบการดูแลที่ครอบคลุมและชัดเจนมากขึ้น
กิจกรรมการพัฒนา
๑. จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น stroke จากงานอุบัติเหตุฉุกเฉินประจำทุกเดือน เพื่อเป็นฐานข้อมูลการติดตามผู้ป่วยประจำเดือน
๒. ปรึกษาหารือรูปแบบการส่ง consult จากแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ER OPD IPD เพื่อการทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง และการติดตามดูแลที่บ้าน รวมถึงการส่งกลับจากโรงพยาบาลศูนย์ รพ. เฉพาะทางต่างๆ โดยเข้าร่วมในโปรแกรม Buriram stroke network (facebook) ในการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย Stroke ของจังหวัด ในระบบ stroke fast tract และการส่งกลับเพื่อรับการฟื้นฟูสภาพ จากกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในโปรแกรม หน้าตาดี PT บุรีรัมย์ (facebook) ทำให้ได้รับข้อมูลหลายทางมาเสริมในการติดตามดูแลที่ทันท่วงที และครอบคลุม
๓. ให้บริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการส่งปรึกษาจากระบบในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีระดับ ADL ค่อนข้างต่ำ (ประเมินโดย barthel index) คุณภาพชีวิตแย่ลง โดยเน้นการสอนญาติร่วมด้วยทุกครั้ง
๔.  จัดตารางออกฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยในชุมชนทุกรายที่มีการส่งปรึกษาเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟู จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กระตุ้นผู้ป่วยและญาติในการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวที่บ้าน และกลุ่มที่ไม่ได้ส่งปรึกษา (จากระบบข้อมูลการส่งต่อ) เพื่อดูปัญหาและประเมินระดับความสามารถของผู้ป่วยทุกราย รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลจากปัญหาการเดินทาง รายได้ ระยะทาง จนกว่าระดับ ADL จะเพิ่มขึ้นหรือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หมุนเวียนทุกพื้นที่ และส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่ รพสต. และ อสม. เครือข่ายผ่านทาง facebook กายภาพบำบัดโรงพยาบาลกระสัง
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง
๑.  ผู้ป่วย stroke ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพได้รับการส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด ๙๓.๓๓ (๔๒ ใน๔๕ คนที่เหลือ ๒๔ คน ระดับ ADL ใกล้เคียงปกติ)
๒.  ผู้ป่วย stroke ได้รับการติดตามฟื้นฟูสภาพต่อเนื่องที่บ้าน ๙๗.๑๐ % (๖๗ คน ใน ๖๙ คน)
๓.  ผู้ป่วย stroke ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการฟื้นฟูสภาพ ๖๖.๖๗ (๓๐ คน ใน ๔๕ คน)
๔.  มีระบบการส่งต่อที่ชัดเจนขึ้นทั้งในระดับหน่วยงาน และระดับจังหวัด ทำให้ข้อมูลคนไข้เป็นปัจจุบัน และ ไม่หายไปไหน สามารถติดตามดูแลได้ครบถ้วนครอบคลุม ๙๗.๑๐% 
๕.  ผู้ป่วยได้รับโอกาสในการฟื้นฟูสภาพและเฝ้าระวังอาการจากทีมกายภาพบำบัดมากขึ้น ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
 ๖.  ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจากการสอน การสังเกตทีมฟื้นฟู และเข้าใจผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
 ๗.  มีนวัตกรรมอำนวยความสะดวกในการดูแลและฝึกผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัย คือ ผ้ารัดเอว       
บทเรียนที่ได้รับ
จากการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย stroke เชื่อมโยงกับ social network ทำให้ทีมสามารถ
ให้การดูแลผู้ป่วย stroke ได้ครอบคลุมทั้งงานเชิงรับและงานเชิงรุก เป็นระบบชัดเจน และเชื่อมโยง
เครือข่ายดีขึ้นกว่าเดิม และเป็นแนวทางให้กับเครือข่ายวิชาชีพกายภาพบำบัดในระบบจังหวัด
และระดับเขตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น